อาเซียนคือการรวมตัวกันของสิบประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีทั้งหมดสิบสองประเทศ
ปัจจุบันเรียกตนเองว่า "ประชาคมอาเซียน"
มีไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน
รวมตัวกันเพื่อร่วมมือและร่วมงานสร้างประชาคมใหม่
มีหลักการ กฏเกณฑ์ กฎบัตร และข้อตกลงผ่านอนุสัญญา สนธิสัญญา ปฏิญญา
มีแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ เป็นข้อบังคับและแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
ส่วนสองประเทศในภูมิภาคนี้ที่ไม่ได้เข้าร่วมคือ ปาปัวนิวกินี และติมอร์ตะวันออก
คำจำกัดความของ "อาเซียน" และ "เอเซียตะวันออกเฉียงใต้" นั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ
อาเซียนคือองค์กรร่วมของสิบรัฐสมาชิก
ส่วน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้คือภูมิรัฐศาสตร์อันเป็นที่ตั้งของสิบสองประเทศ
จีงเกิดสองหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยดังนี้
1. วิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (South East Asia Studies) ศึกษาภูมิรัฐศาสตร์ของสิบสองประเทศในภูมิภาคนี้ทั้งทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ
2. วิชาอาเซียนศึกษา (ASEAN Studies) ศีกษาเกี่ยวกับองค์กรนี้เป็นหลัก โดยใช้อาเซียนเป็นแกนกลางในการสร้างหลักสูตรทั้งทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ
หลักสูตรข้อสองแตกต่างกับข้อหนึ่งอย่างชัดเจนว่าเป็นการศึกษาองค์กรร่วมของสิบรัฐสมาชิก
เช่น
ภูมิศาสตร์อาเซียน ศึกษาความเป็นเขตร่วมทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกื้อกูลให้เกิดการรวมตัวกัน
ประวัติศาสตร์อาเซียน ศึกษาเหตุผลกลไกที่พัฒนาการก่อตั้งอาเซียน
การเมืองและความมั่นคง ศึกษากระบวนการร่วมสร้างกลไกทางการเมืองและความมั่นคงร่วมกันของสิบรัฐสมาชิก
เศรษฐกิจอาเซียน ศึกษาการพัฒนาและการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจตามข้อตกลงและแผนปฏิบัติการร่วมกัน
*
หมายเหตุ ได้ข้อมูลนี้หลังอ่านบทความเขียนโดย อาจารย์ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาย่นย่อให้อ่านง่าย
*
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น